ดร.พิบูลย์ฤทธิ์ วิริยะผล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทองคำ แถลงดัชนีความเชื่อมั่นราคาทองคำประจำเดือน มิถุนายน 2568 ปรับลดลงเมื่อเทียบกับเดือน พฤษภาคม 2568 ที่ผ่านมา จากระดับ 76.75 จุด มาอยู่ที่ระดับ 73.67 ลดลง 3.08 จุด หรือคิดเป็น 4.01% โดยปัจจัยที่ทำให้ดัชนีฯ ปรับลดลง ได้แก่ รายงานตัวเลขทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ปรับตัวดีขึ้น การเจรจาการค้าของสหรัฐฯ มีความคืบหน้า เงินทุนไหลเข้าสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ความกังวลเรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ FED และนโยบายทางเศรษฐกิจของประธานาธิบดีสหรัฐฯ คาดการณ์ความต้องการซื้อทองคำในช่วงเดือน มิถุนายน 2568 จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 338 ราย ในจำนวนนี้มี 149 ราย หรือเทียบเป็น 44% คาดว่าจะซื้อทองคำ ส่วนจำนวน 113 ราย หรือเทียบเป็น 33% ไม่แน่ใจว่าจะซื้อทองคำในเดือนนี้หรือไม่ และจำนวน 76 ราย หรือเทียบเป็น 23% คาดว่าจะไม่ซื้อทองคำ สรุปกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ประกอบกิจการค้าทองคำรายใหญ่และผู้ประกอบกิจการนายหน้าซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงกับราคาทองคำ จำนวน 12 ราย ในจำนวนนี้มี
Tag Archives: ศูนย์วิจัยทองคำ
ดร.พิบูลย์ฤทธิ์ วิริยะผล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทองคำ แถลงดัชนีความเชื่อมั่นราคาทองคำประจำเดือน พฤษภาคม 2568 ปรับเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือน เมษายน 2568 ที่ผ่านมา จากระดับ 75.25 จุด มาอยู่ที่ระดับ 76.75 เพิ่มขึ้น 1.50 จุด หรือคิดเป็น 1.99% โดยปัจจัยที่ทำให้ดัชนีฯ ปรับเพิ่มขึ้นนั้น ได้แก่ ความต้องการซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย นโยบายทางเศรษฐกิจของประธานาธิบดีสหรัฐฯ ความตึงเครียดของสงครามการค้า และความกังวลเศรษฐกิจโลกถดถอย คาดการณ์ความต้องการซื้อทองคำในช่วงเดือน พฤษภาคม 2568 จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 344 ราย ในจำนวนนี้มี 152 ราย หรือเทียบเป็น 44% คาดว่าจะซื้อทองคำ ส่วนจำนวน 104 ราย หรือเทียบเป็น 30% ไม่แน่ใจว่าจะซื้อทองคำในเดือนนี้หรือไม่ และจำนวน 88 ราย หรือเทียบเป็น 26% คาดว่าจะไม่ซื้อทองคำ สรุปกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ประกอบกิจการค้าทองคำรายใหญ่และผู้ประกอบกิจการนายหน้าซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงกับราคาทองคำ จำนวน 12 ราย ในจำนวนนี้มี 7 ราย
ดร.พิบูลย์ฤทธิ์ วิริยะผล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทองคำ แถลงดัชนีความเชื่อมั่นราคาทองคำประจำเดือน เมษายน 2568 ปรับเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือน มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา จากระดับ 74.48 จุด มาอยู่ที่ระดับ 75.25 เพิ่มขึ้น 0.77 จุด หรือคิดเป็น 1.03% โดยปัจจัยที่ทำให้ดัชนีฯ ปรับเพิ่มขึ้นนั้น ได้แก่ ความต้องการซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย นโยบายทางเศรษฐกิจของประธานาธิบดีสหรัฐฯ นโยบายอัตราดอกเบี้ยของ FED และความตึงเครียดของสงครามการค้า ดัชนีความเชื่อมั่นราคาทองคำระยะสามเดือนในไตรมาสที่ 2 ของปี 2568 (เม.ย.–มิ.ย.) ปรับเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 1 ของปี 2568 จากระดับ 56.12 จุด มาอยู่ที่ระดับ 66.78 จุด เพิ่มขึ้น 10.66 จุด หรือคิดเป็น 18.99% โดยดัชนีฯ ที่ปรับเพิ่มขึ้นมานั้น ได้แก่ ความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัย การผ่อนคลายนโยบายทางการเงินของ FED นโยบายทางเศรษฐกิจของประธานาธิบดีสหรัฐฯ ความกังวลเรื่องเศรษฐกิจโลกถดถอย และความต้องการทองคำของธนาคารกลางประเทศต่าง
ดร.พิบูลย์ฤทธิ์ วิริยะผล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทองคำ แถลงดัชนีความเชื่อมั่นราคาทองคำประจำเดือน มกราคม 2568 ปรับเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือน ธันวาคม 2567 ที่ผ่านมา จากระดับ 67.21 จุด มาอยู่ที่ระดับ 68.31 เพิ่มขึ้น 1.10 จุด หรือคิดเป็น 1.63% โดยปัจจัยที่ทำให้ดัชนีฯ ปรับเพิ่มขึ้นนั้น ได้แก่ นโยบายทางเศรษฐกิจของประธานาธิบดีสหรัฐฯ นโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ และจีน ความต้องการซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย และการอ่อนค่าของเงินบาท ดัชนีความเชื่อมั่นราคาทองคำระยะสามเดือนในไตรมาสแรกของปี 2568 ปรับลดลงจากไตรมาสที่ 4 ของปี 2567 จากระดับ 69.08 จุด มาอยู่ที่ระดับ 56.12 จุด ลดลง 12.96 จุด หรือคิดเป็น 18.76% โดยดัชนีฯ ที่ปรับลดลงมานั้น ได้แก่ ทิศทางนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) การแข็งค่าของเงินบาท กระแสเงินทุนไหลเข้าสู่ดอลลาร์สหรัฐฯ สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเชียและยูเครนเริ่มคลี่คลาย นโยบายทางเศรษฐกิจของประธานาธิบดีสหรัฐฯ คาดการณ์ความต้องการซื้อทองคำในช่วงเดือน มกราคม 2568 จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน
ดร.พิบูลย์ฤทธิ์ วิริยะผล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทองคำ กล่าวว่า การเคลื่อนไหวของราคาทองคำในปีนี้ถือว่าน่าสนใจ เพราะราคาได้ดีดตัวแรงตั้งแต่ต้นปี แม้ว่าตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ที่ประกาศออกมาจะแข็งแกร่ง แต่ราคาทองคำยังขยับบวกต่อจากความกังวลเรื่องนโยบายของ โดนัลด์ ทรัมป์ ที่จะประกาศหลังเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในวันที่ 20 ม.ค. ซึ่งมีการคาดการณ์ว่า จะส่งผลต่อแรงหนุนราคาทองคำในหลาย ๆ เรื่อง และคาดว่าปีนี้ราคาทองคำน่าจะเคลื่อนไหวผันผวน ดร.พิบูลย์ฤทธิ์ วิริยะผล ผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัยทองคำ กล่าวกับว่า ไฮไลท์สำคัญของตลาดทองคำปีนี้ ก็คือ การขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ของ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ถ้าย้อนกลับไปดูเมื่อ 8 ปีที่ผ่านมา ซึ่ง นายโดนัลด์ ทรัมป์ ดำรงตำแหน่งสมัยแรก ไม่ได้เป็นผลบวกกับทองคำโดยตรง และการเข้ามาดำรงตำแหน่งในรอบนี้ นโยบาย “America First” จะทำให้เงินดอลลาร์กลับมาแข็งค่า โดยเฉพาะเรื่องของนโยบายกำแพงภาษี และสงครามการค้า จะส่งผลต่อราคาทองคำ ขณะที่ เรื่องของปัญหาความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ทั้งยูเครน-รัสเซีย และทางฝั่งตะวันออกกลาง น่าจะเบาลง เพราะในช่วงหาเสียง นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศจะหยุดสงครามยูเครนได้ภายใน 100 วัน ซึ่งจะทำให้เกิดแรงหนุนในเรื่องสินทรัพย์ปลอดภัยลดลงตาม ขณะเดียวกัน ราคาทองคำอาจได้รับผลกระทบจากแนวคิดของทรัมป์
ดร.พิบูลย์ฤทธิ์ วิริยะผล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทองคำ ร่วมเป็นวิทยากรในงาน Thailand Smart Money โดยบรรยายในหัวข้อ “ทองคำ…ออมวันนี้ยังไม่สาย” ในงาน Thailand Smart Money Bangkok ครั้งที่ 15 เมื่อวันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม 2567 เวลา 11.30 – 12.30 น. ณ BCC HALL เซ็นทรัล ลาดพร้าว กรุงเทพฯ
ดร.พิบูลย์ฤทธิ์ วิริยะผล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทองคำ แถลงดัชนีความเชื่อมั่นราคาทองคำประจำเดือน ธันวาคม 2567 ปรับเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือน พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา จากระดับ 67.13 จุด มาอยู่ที่ระดับ 67.21 เพิ่มขึ้น 0.08 จุด หรือคิดเป็น 0.13% โดยปัจจัยที่ทำให้ดัชนีฯ ปรับเพิ่มขึ้นนั้น ได้แก่ ความต้องการซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย แรงซื้อเก็งกำไร เงินบาทอ่อนค่า นโยบายทางเศรษฐกิจของประธานาธิบดีสหรัฐฯ และ ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ และจีน คาดการณ์ความต้องการซื้อทองคำในช่วงเดือน ธันวาคม 2567 จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 320 ราย ในจำนวนนี้มี 130 ราย หรือเทียบเป็น 41% ไม่แน่ใจว่าจะซื้อทองคำในเดือนนี้หรือไม่ ส่วนจำนวน 118 ราย หรือเทียบเป็น 37% คาดว่าจะไม่ซื้อทองคำ และจำนวน 72 ราย หรือเทียบเป็น 22% คาดว่าจะซื้อทองคำ สรุปกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ประกอบกิจการค้าทองคำรายใหญ่และผู้ประกอบกิจการนายหน้าซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงกับราคาทองคำ จำนวน 13 ราย ในจำนวนนี้มี
ดร.พิบูลย์ฤทธิ์ วิริยะผล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทองคำ แถลงดัชนีความเชื่อมั่นราคาทองคำประจำเดือน กันยายน 2567 ปรับลดลง เมื่อเทียบกับเดือน สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา จากระดับ 72.98 จุด มาอยู่ที่ระดับ 68.97 ลดลง 4.01 จุด หรือคิดเป็น 5.49% โดยปัจจัยที่ทำให้ดัชนีฯ ปรับลดลงนั้น มีสาเหตุมาจาก ความกังวลต่อการปรับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED), การแข็งค่าของเงินบาท, การขายทำกำไรของกองทุน และเศรษฐกิจโลกส่งสัญญาณการฟื้นตัว คาดการณ์ความต้องการซื้อทองคำในช่วงเดือน กันยายน 2567 จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 306 ราย ในจำนวนนี้มี 144 ราย หรือเทียบเป็น 47% คาดว่าจะซื้อทองคำ ส่วนจำนวน 90 ราย หรือเทียบเป็น 29% คาดว่าจะไม่ซื้อทองคำ และจำนวน 72 ราย หรือเทียบเป็น 24% ไม่แน่ใจว่าจะซื้อทองคำในเดือนนี้หรือไม่ สรุปกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ประกอบกิจการค้าทองคำรายใหญ่ และ ผู้ประกอบกิจการนายหน้าซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงกับราคาทองคำ จำนวน 13
ดร.พิบูลย์ฤทธิ์ วิริยะผล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทองคำ แถลงดัชนีความเชื่อมั่นราคาทองคำประจำเดือน สิงหาคม 2567 ปรับเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือน กรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา จากระดับ 69.16 จุด มาอยู่ที่ระดับ 72.98 เพิ่มขึ้น 3.82 จุด หรือคิดเป็น 5.52% โดยปัจจัยที่ทำให้ดัชนีฯ ปรับเพิ่มขึ้นมานั้น มีสาเหตุมาจาก ความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัย แรงซื้อทองคำจากธนาคารกลางชาติต่าง ๆ ทั่วโลก ความกังวลเรื่องเงินเฟ้อในสหรัฐฯ นโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ และแรงซื้อเก็งกำไร คาดการณ์ความต้องการซื้อทองคำในช่วงเดือน สิงหาคม 2567 จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 340 ราย ในจำนวนนี้มี 160 ราย หรือเทียบเป็น 47% คาดว่าจะซื้อทองคำ ส่วนจำนวน 120 ราย หรือเทียบเป็น 35% คาดว่าจะไม่ซื้อทองคำ และจำนวน 60 ราย หรือเทียบเป็น 18% ไม่แน่ใจว่าจะซื้อทองคำในเดือนนี้หรือไม่
ดร.พิบูลย์ฤทธิ์ วิริยะผล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทองคำ แถลงดัชนีความเชื่อมั่นราคาทองคำประจำเดือน กรกฎาคม 2567 ปรับเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือน มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา จากระดับ 68.58 จุด มาอยู่ที่ระดับ 69.16 เพิ่มขึ้น 0.58 จุด หรือคิดเป็น 0.85% โดยปัจจัยที่ทำให้ดัชนีฯ ปรับเพิ่มขึ้นมานั้น มีสาเหตุมาจาก ความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัย แรงซื้อเก็งกำไร ความกังวลเศรษฐกิจโลกถดถอย และแรงซื้อทองคำจากธนาคารกลางชาติต่าง ๆ ทั่วโลก ดัชนีความเชื่อมั่นราคาทองคำระยะสามเดือนในไตรมาสที่ 3 ของปี 2567 (ก.ค.–ก.ย.) ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสที่ 2 ของปี 2567 จากระดับ 68.48 จุด มาอยู่ที่ระดับ 68.50 จุด เพิ่มขึ้น 0.02 จุด หรือคิดเป็น 0.04% โดยดัชนีฯ ที่ปรับเพิ่มขึ้นมานั้น มีสาเหตุมาจาก ความต้องการทองคำของธนาคารกลางประเทศต่างๆ แรงซื้อเก็งกำไรของกองทุน เงินทุนไหลออกจากเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ ความต้องการซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย และภาวะอัตราเงินเฟ้อ